วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบ O-net 2552 ข้อ 53 - 57




ข้อ 53. ตอบ 3) การสะท้อน

คำอธิบาย
การสะท้อนของคลื่น Reflection เมื่อคลื่นเคลี่ยนที่ไปชนกับสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปยังปลายสุดของตัวกลาง หรือระหว่างรอยต่อของตัวกลาง คลื่นส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิม เรียกว่า การสะท้อนของคลื่น และคลื่นที่สะท้อนกลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน ส่วนคลื่นที่ไปกระทบปลายสุดของตัวกลางก่อนเกิดการสะท้อนเรียกว่า คลื่นตกกระทบ หลายๆสิ่งรอบตัวเราได้ กระจก หน้าต่าง แว่นตา รถที่ขัดจนมันวับรองเท้าบูทขัดมัน น้ำในสระ แต่ การสะท้อนแสงจะดีที่สุดในกระจกเงา เพราะมีผิวเรียบ
และมันเงา
การหักเหของคลื่น(Refraction)เมื่อให้คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง เช่น คลื่นน้ำลึกเคลื่อนที่จากน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น จะทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งแล้วทำให้อัตรา เร็วและความยาวคลื่นเปลี่ยนไปแต่ความถี่คงที่ เรียกว่า "การหักเหของคลื่น" และคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ ระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า "คลื่นหักเห"ในการหักเหของคลื่นจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง จะทำให้ความเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปจากแนวเดิมก็ได้
การแทรกสอดของคลื่น(Interference)เมื่อมีคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องสองขบวนนั้น ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดของคลื่น (Interference)

1.การแทรกสอดแบบเสริมกัน เกิดจากสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีวันคลื่นสูงกว่าเดิม และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า ปฏิบัพ(Antinode)

2.การแทรกสอดแบบหักล้าง เกิดจากสันคลื่นจากแหล่งกำเนิดหนึ่งมารวมกับท้องคลื่นของ อีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม และเรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ(Node)
การเลี้ยวเบนของคลื่น เมื่อมีสิ่งกีดขวางมากั้นการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นจะเกิดการสะท้อน แต่ถ้าสิ่งกีดขวางนั้นกั้นการเคลื่อนที่ ของคลื่นเพียงบางส่วน จะพบว่ามีคลื่นส่วนหนึ่งแผ่จากขอบสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น การที่มีคลื่นปรากฎอยู่ทางด้านหลังของแผ่นกั้นคลื่นในบริเวณนอกทิศทางเดิมของคลื่นเช่นนี้เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น ในการอธิบายการเลี้ยงเบนของคลื่นต้องใช้ หลักการของฮอยเกนส์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า
"แต่ละจุดบนหน้าคลื่นสามารถถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของคลื่นใหม่ที่ให้กำเนิดคลื่น ซึ่งเคลื่อนที่ออกไปทุกทิศทุกทางด้วยอัตราเร็วเท่ากับ อัตราเร็วของคลื่นเดิมนั้น"

ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/skn42/phy67/function.htm






ข้อ 54. ตอบ 2)ความยาวคลื่นบนเส้นเชือกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เนื่องจากปริมาณทั้งสองแปรผัน
ตามกัน

คำอธิบาย
เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง จะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือก โดยคลื่นที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนที่ไปยังอีกปลายด้านหนึ่งของเชือกเมื่อเราสบัดเชือกเร็วขึ้น ความยาวคลื่นในเส้นเชือกก็จะลดลงโดยถือว่าความเร็วของคลื่นในเส้นเชือกด้วยอัตราเร็วคงตัวเมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง ให้เกิดคลื่นดล ผ่านรอยต่อของเส้นเชือก 2 เส้นที่มีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปพบรอยต่อจะเกิดการสะท้อนและหักเห จากรูปคลื่นเคลื่อนที่จากความเร็วมากไปหาความเร็วน้อย โดยคลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศาเมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกซึ่งปลายด้านหนึ่งตรึงไว้ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกปลายอิสระ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสคงเดิม

ที่มา http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/wave/basic/basic1/tran.html







ข้อ 55. ตอบ 2)การสะท้อน

คำอธิบาย
จุดประสงค์ของการบุผนังโรงภาพยนตร์คือ ลดเสียงก้องนั่นเองเพื่อให้ดูภาพยนตร์ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การที่จะลดเสียงก้องก็คือการลดการสะท้อนนะครับ ส่วนความถี่และความดังไม่สามารถลดได้ด้วยการบุผนัง ส่วนการหักเหต้องเพิ่มขึ้นจึงจะทำให้พลังงานเสียงนั้นลดลงและไปในทิศทางที่ไม่แน่นอนจะได้ไม่รบกวนขณะที่ดูภาพยนตร์

ที่มา http://thaigoodview.com/node/16869?page=0,19








ข้อ 56. ตอบ 2)มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิดต้องอาศัยตัวกลางในการเดินทาง

คำอธิบาย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวน ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดย การ ทำให้ สนามไฟฟ้า หรือ สนามแม่เหล็ก มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้า มีการเปลี่ยนแปลง จะเหนี่ยวนำ ให้เกิด สนามแม่เหล็ก หรือถ้า สนามแม่เหล็ก มี การเปลี่ยนแปลง ก็จะเหนี่ยวนำ ให้เกิด สนามไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็น คลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้า และ สนามแม่เหล็ก ที่มีการสั่น ในแนวตั้งฉากกัน และ อยู่บน ระนาบ ตั้งฉาก กับ ทิศ การเคลื่อนที่ ของ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เป็น คลื่น ที่ เคลื่อนที่ โดย ไม่ อาศัย ตัวกลาง จึงสามารถ เคลื่อนที่ใน สุญญากาศได้
สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่มีความถี่และ ความยาวคลื่น แตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุม ตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น
ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มาก ในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์

ที่มา http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:i9bIdfPqFZQJ:act41241.30.forumer.com/index.php%3Fs%3D1f8a4abe632c46dd8ac2f88ef5e86034%26act%3DAttach%26type%3Dpost%26id%3D4773+ความหมายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า&cd








ข้อ 57. ตอบ 1)การเปลี่ยนขนาดของจุดดับบนดวงอาทิตย์

คำอธิบาย
ความจริงตรงบริเวณจุดดับของดวงอาทิตย์นั้นมีทั้งความร้อนและความสว่างไม่น้อยเลย การที่เรามองเห้นเป็นจุดดำๆ ไปเกิดจากส่วนอื่นของผิวดวงอาทิตย์โดยรอบ มีความร้อนและความสว่างมากกว่าบริเวณนั้นหลายพันเท่า จึงทำให้เรามองเห็นส่วนที่สว่างน้อยกว่าเป็นจุดสลัวๆ ไป ขนาดของจุดดำๆ เหล่านี้ในบางครั้งใหญ่โตกว่าโลกก็มี แล้วมันอาจเล็กลงแล้วหายไป แล้วก็กลับเกิดขึ้นมาอีก นักดาราศาสตร์ได้เฝ้าสังเกตแล้วปรากฏว่า การเกิดมีจุดดับ การขยายขนาดและจำนวนจุดับให้มากขึ้น แล้วค่อยเล็กลงจนหมดไปและกลับมีขึ้นมาอีกนั้น หมุนเวียนเป็นรอบจักรราศีหรือรอบหนึ่งประมาณ 11 ปีครึ่ง บางคนกล่าว่าจุดดับในดวงอาทิตย์มีอิทธิพลกระทบกระเทือนมาถึงโลกด้วย เฃ่น ขณะที่ดวงอาทิตย์มีจุดดับมากนั้น จะทำให้เกิดพายุแม่เหล็กขึ้นที่ขั้วโลกทั้งสอง, คลื่นวิทยุถูกลบกวนและทำให้ดินฟ้าอากาศวิปริตปั่นป่วน ดังนี้เป็นต้น
จุดดับในดวงอาทิตย์เกิดจากกลุ่มก๊าซที่ลุกโพลงอยู่ ได้ระเบิดขึ้นทันทีทันใด ทำให้เปลวเพลิงที่อมความร้อนอยู่จำนวนมากพลุ่งปลิวออกไปนอกเวหา เป็นเหตให้ ณ ที่ตรงนั้นมีอุณหภูมิและแสงสว่างน้อยกว่าอาณาบริเวณใกล้เคียง จึงมองดูในระยะไกลเป็นจุดสลัว ๆ ไป จากการสังเกตตำแหน่งจุดดับนี้เอง ทำให้นักวิทยาศสตร์ทราบได้ว่า ดวงอาทิตย์ก็มีการหมุนเวียนรอบตัวเองด้วยเหมือนกัน โดยกินเวลารอบละประมาณ 25 วัน

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ข้อ 53. ตอบข้อ 3)การสะท้อน




คำอธิบาย
1 การสะท้อนของคลื่น การสะท้อนของคลื่นหมายถึง การเปลี่ยนทิศทางการเดินทางของคลื่นโดยทันทีทันใดเมื่อคลื่นนั้นเดินทาง ตกกระทบที่ผิวของตัวกลาง นั่นคือ คลื่นกระดอนออกจากผิวสะท้อน ของตัวกลาง ในลักษณะเดียวกับแสงสะท้อนจากกระจกเงา จากรูปที่ 2 แสดงปรากฎการณ์ ของการสะท้อนของคลื่นวิทยุ สังเกตได้ว่ามุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

ที่มา http://irrigation.rid.go.th/rid17/Myweb/machanical/commu/vorapot1.html



ข้อ 54.ตอบ 4)ความยาวคลื่นบนเส้นเชือกเท่าเดิม แต่อัตรเร็วของคลื่นเพิ่มเป็นสองเท่าตามสมการ v = fI




คำอธิบาย
-เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง จะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือก โดยคลื่นที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนที่ไปยังอีกปลายด้านหนึ่งของเชือก
-เมื่อเราสบัดเชือกเร็วขึ้น ความยาวคลื่นในเส้นเชือกก็จะลดลงโดยถือว่าความเร็วของคลื่นในเส้นเชือกด้วยอัตราเร็วคงตัว
-เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง ให้เกิดคลื่นดล ผ่านรอยต่อของเส้นเชือก 2 เส้นที่มีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปพบรอยต่อจะเกิด
-การสะท้อนและหักเห จากรูปคลื่นเคลื่อนที่จากความเร็วมากไปหาความเร็วน้อย โดยคลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา
-เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกซึ่งปลายด้านหนึ่งตรึงไว้ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา
-เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกปลายอิสระ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสคงเดิม

ที่มา http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/wave/basic/basic1/tran.html






ข้อ 55.ตอบ 1)การหักเห




คำอธิบาย
การหักเหของเสียงเนื่องจากอัตราเร็วในอากาศขึ้นกับอุณหภูมิ เมื่อบริเวณ 2 แห่ง มีอุณหภูมิของอากาศแตกต่างกัน เสียงเคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งจะเกิดการหักเหทำให้คลื่นเสียงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น การที่เราเห็นฟ้าแลบ บางครั้งไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง เพราะเสียงได้หักเหไปทางอื่น จึงมาไม่ถึงหูผู้ฟัง การหักเหของเสียง เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน หรือตัวกลางชนิดเดียวกันแต่อุณหภูมิต่างกัน จะมีเงื่อนไขเหมือนกับคลื่นน้ำ ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก ทำให้คลื่นมีทิศทางเบนออกจากเส้นปกติ และถ้าเสียงเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำไปบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจะทำให้คลื่นเบนออกจากเส้นปกติ

ที่มา http://thaigoodview.com/node/18316




ข้อ 56.ตอบ 1)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดมีอัตราเร็วในสุญญากาศเท่ากันสมการของแม็กซ์เวลซ์ทั้ง 4 สมการบอกเราว่า



คำอธิบาย
- เคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นการสั่นของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
- ความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีค่าคงที่ ในสุญญากาศ มีค่าเท่ากับการค้นพบของแม็กซเวลซ์สร้างความสงสัยให้กับนักฟิสิกส์สมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่ว่า …คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้อย่างไร? เพราะตามความเข้าใจของนักฟิสิกส์สมัยนั้น คลื่นทุกชนิดต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ แต่เนื่องจากนิยามของสุญญากาศ (Vacuum) คือบริเวณที่ไม่มีอะไรเลย ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วอะไรเป็นตัวกลางให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ตัวกลางอะไรที่สั่น)Maxwell เสนอว่าตัวกลางที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่คือ อีเทอร์ (Aether)
- อวกาศไม่ได้เป็นที่ว่าง ที่บรรจุเต็มด้วยอีเทอร์
- เคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่โดยมีการสั่นของตัวกลางคือ อีเทอร์

ที่มา http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/17/2/EMW.htm





ข้อ57.ตอบ 3)การเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง



คำอธิบาย
การขึ้นลงของน้ำ เกิดจากแรงดึงดูดของโลกกับดวงจันทร์ต่างหาก แรงที่โลกดึงดูดดวงจันทร์จะเท่ากับแรงที่ดวงจันทร์ดึงดูดโลก อันนี้ก็คือกฎข้อที่สามของนิวตันนั่นเอง แรงดึงดูดนี้ทำให้ดวงจันทร์หมุนอยู่รอบโลก หรือจะพูดว่าโลกหมุนอยู่รอบดวงจันทร์ก็ได้เช่นเดียวกัน การหมุนรอบซึ่งกันและกันนี้ ทำให้มีจุดหมุนร่วมกันจุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างมวลทั้งสอง จุดนี้ก็คือจุดศูนย์กลางมวลของโลกและดวงจันทร์ เพราะว่ามวลของโลกใหญ่กว่าดวงจันทร์มากดังนั้นจุดศูนย์กลางนี้จะอยู่ใกล้กับโลกมากกว่า หรืออยู่ภายในโลกนั่นเองดังรูป

ที่มาhttp://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/physics1/tides/tides.htm

คลื่น

1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99
2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99
3. http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/saowalak/wave/wave.htm
4. http://www.icphysics.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54
5. http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/sonic.htm
6. http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_1.htm

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553